วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ชาวAndroidมีเฮ!! Google Translate แปลภาษาแบบไม่ต้องสลับAppได้แล้ว!!

ภาพโดย : www.slashgear.com

เป็นปัญหาของคนที่ไม่มีความรู้เรื่องภาษาต่างประเทศหรือรู้แต่แค่งูๆปลาๆที่สนใจและอยากรู้ในสิ่งที่คนต่างประเทศเขียนหรือสนทนากัน แต่ถึงแม้จะมีAppแปลภาษาออกมามากมายแล้วก็ตามปัญหาเดิมๆที่ต้องเจอ(เฉพาะ ผู้ใช้smartphoneหรืออุปกรณ์สื่อสารอื่นๆ)คือ จะทำสลับไปมาระหว่างAppเพื่อcopyแล้วมาpasteในAppแปลภาษาจากนั้นก็copyแล้วไปpasteในAppเิมอีกที ทำอย่างนี้ไปๆมาๆไม่มีที่สิ้นสุด

ในที่สุด Google Translate บน Android ได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ Tap to Translate ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ ไม่ต้องสลับไปยังแอพ Google Translate เพื่อแปลภาษาอีกต่อไป
วีดิโอโดย : ช่อง Google
Tap to Translate ใช้งานได้กับแอพทุกตัว เพียงแค่เราเลือกข้อความที่อยากแปล สั่งคัดลอก จากนั้นเราจะเห็นไอคอน Google Translate ป๊อปอัพขึ้นมาบนหน้าจอ (คล้ายกับ Chat Head ของ Facebook Messenger) และกดดูข้อความที่แปลแล้วได้ทันที สามารถใช้งานได้กับ Android 4.2 ขึ้นไป
นอกจากนี้ กูเกิลยังออก Google Translate บน iOS เวอร์ชันใหม่ ที่รองรับการแปลภาษาแบบออฟไลน์ได้แล้ว ตามหลัง Android ที่ทำได้ก่อนหน้านี้
อ้างอิง : https://www.blognone.com/node/80868

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

กูเกิลป้องกันการคลิกโฆษณาบนมือถือพลาด ไม่นับการคลิกที่ขอบโฆษณา

เชื่อว่าผู้ใช้สมาร์ทโฟนแทบทุกคน คงเคยมีประสบการณ์ "คลิกพลาด" ไปโดนโฆษณาเข้าโดยไม่ตั้งใจ ปัญหานี้ส่งผลลบทั้งต่อผู้ใช้ (ต้องดูโฆษณาทั้งที่ไม่สนใจ) และผู้ลงโฆษณา (ถูกคิดราคาคนคลิกโฆษณา ทั้งที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย)
กูเกิลออกมาปรับวิธีการตรวจสอบคลิกของโฆษณาแบบ Native Ads (โฆษณาที่หน้าตาเหมือนคอนเทนต์) ในเครือข่าย AdMob โดยจะไม่นับคลิกใน 2 กรณีดังนี้
  • คลิกเร็วเกินไป (fast click) ถ้ากูเกิลพบการคลิกโฆษณาเร็วผิดปกติหลังโฆษณาถูกแสดง แปลว่าคนคลิกไม่มีเวลาอ่านหรือดูโฆษณาด้วยซ้ำ ดังนั้น AdMob จะไม่สนใจการคลิกพลาดลักษณะนี้
  • คลิกที่ขอบของโฆษณา (edge click) กรณีนี้สำหรับมือพลาดไปโดนเข้า ถ้ากูเกิลตรวจสอบพบว่าผู้ใช้คลิกโดนขอบๆ ของพื้นที่โฆษณา แปลว่าน่าจะคลิกพลาด ก็จะไม่นับคลิกเช่นกัน
การปรับปรุงวิธีตรวจสอบการคลิกโฆษณาแบบนี้ ช่วยให้ประสิทธิภาพของโฆษณาดีขึ้น อัตราการประสบความสำเร็จของโฆษณา (conversion rate) ดีขึ้นเฉลี่ย 10%
อ้างอิง : https://www.blognone.com/node/80735

วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

งานงอก QuickTimeพบช่องโหว่และหยุดอัพเดตแล้ว

ที่มา: http://v3.co.uk/
บริษัทความปลอดภัย Trend Micro แจ้งค้นพบช่องโหว่ร้ายแรงของ QuickTime for Windows สองจุด

ปัญหาคือแอปเปิลบอกกับ Trend Micro ว่าจะไม่อัพเดตอุดช่องโหว่ของ QuickTime for Windows อีกแล้ว ส่งผลให้ QuickTime for Windows มีความเสี่ยงทันที


Trend Micro เปิดเผยข้อมูลช่องโหว่ทั้งสองจุดตามนโยบาย Zero Day Initiative และแนะนำให้ผู้ใช้ QuickTime for Windows ทุกคนถอนการติดตั้งโปรแกรมในทันที
แอปเปิลหยุดพัฒนา QuickTime for Windows มาได้สักระยะแล้ว และรองรับสูงสุดแค่ Windows 7 เท่านั้น (เวอร์ชันล่าสุดคือ QuickTime 7.7.9)

อ้างอิง: https://www.blognone.com/node/80011

WinXpเศร้า Dropboxหยุดสนับสนุนตังแต่ 26 มิ.ย.นี้

ที่มา: https:// updraftplus.com
Dropbox ประกาศหยุดสนับสนุน Windows XP แล้ว โดย 26 มิ.ย. เป็นต้นไปจะไม่สามารถดาวน์โหลดจากเว็บของบริษัท และไม่สามารถสร้างบัญชีผู้ใช้ใหม่หรือล็อกอินเข้าแอพได้ ส่วนผู้ใช้ที่ล็อกอินอยู่แล้วจะสามารถใช้งานได้จนถึง 29 ส.ค. หลังจากนั้นจะถูกล็อกเอาต์โดยอัตโนมัติ
Dropbox ให้เหตุผลว่า เพื่อเพิ่มฟีเจอร์ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยให้แอพ ผู้ใช้จำเป็นต้องใช้ระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่กว่า Windows XP
อ้างอิง:https://www.blognone.com/node/80287

ในอนาคต PlayStation5 อาจจะไม่เกิด

Shuhei Yoshida หัวหน้าฝ่าย PlayStation ของโซนี่ ได้เข้ามานั่งคุยในรายการ Game Informer Show โดยเมื่อเขาได้รับคำถามว่า PlayStation 5 จะมีหน้าตาออกมาเป็นอย่างไร Yoshida กลับบอกว่าคำถามที่ถูกน่าจะเป็น “ถ้า”​ (If) มากกว่า
ที่มา: http://technobuffalo.com/
ท่าทีของ Yoshida และข่าวลือเกี่ยวกับ PlayStation 4K (หรือ PS4Neo) แสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมเกมคอนโซลในอนาคตอาจจะเปลี่ยนไป เนื่องจากเราเริ่มจะไม่เห็นความแตกต่างกันของเกมระหว่างเจอเนอเรชั่นอีกต่อไปแล้ว ต่างกับก่อนหน้านี้ เช่น สมัย PlayStation มาเป็น PlayStation 2 ที่เราเห็นความแตกต่างระหว่างเจอเนอเรชั่นค่อนข้างมาก
นั่นหมายความว่า PlayStation 4K ที่กำลังลือกันอยู่นี้ อาจจะเป็นอนาคตของอุตสาหกรรมวิดีโอเกมคอนโซล ที่ไม่ต้องมาทำแพลตฟอร์มใหม่ออกมาเรื่อย ๆ ทุก ๆ 5-10 ปี และเราอาจจะได้เห็น PlayStation 4.6, 4.7, และ 4.8 ต่อ ๆ ไป โดยที่ตัวเกมนั้นจะรองรับ PlayStation ทุกรุ่นย้อนไปกลับจนถึง PlayStation 4 รุ่นแรก
ทางฝั่งนักพัฒนาอาจจะต้องเสียเวลาพัฒนาเกมให้เข้ากับคอนโซลหลายรุ่นมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ต้องมาเสียเวลาเรียนรู้แพลตฟอร์มใหม่ ๆ เหมือนแต่ก่อนทุกครั้งเมื่อมีการเปลี่ยนเจอเนอเรชั่นของคอนโซล
ซึ่งนั่นก็แปลว่าเครื่องเกมคอนโซล ก็จะไม่ต่างกับเกมพีซี ที่รองรับเครื่องพีซีทุกเครื่อง การแสดงผลของเกมจะสวยงามกว่า ละเอียดกว่าหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสเปคของฮาร์ดแวร์ แต่ทุกสเปคฮาร์ดแวร์ ก็จะสามารถเล่นเกมเดียวกันได้
ทางด้านประโยชน์สำหรับผู้เล่นเกม ก็คือเกมเก่า ๆ ก็สามารถนำมาเล่นบนเครื่องคอนโซลใหม่ ๆ ได้เลยโดยที่ไม่ต้องรอเวอร์ชัน Remaster
อย่างไรก็ดี Yoshida ยังไม่ได้ออกมาให้ความเห็นอะไรในเรื่องนี้ และการพูดคุยกันครั้งนี้อาจจะเป็นเพียงแค่การหยอกล้อกันเฉย ๆ

อ้างอิง : 
https://www.blognone.com/node/80328

SMSกินเงิน!ลักษณะและวิธียกเลิก

มาดูกันว่าลักษณะของSMSกินเงินที่สรุปจากข้อมูลของผู้เสียหายที่ตั้งกระทู้ใน pantip.com ว่า


1.เพียงเปิดอ่านข้อความที่ได้รับก็เป็นการสมัครและเสียเงินแล้ว
2.เพียงแค่รับสายจากสายเรียกเข้าก็เสียเงินแล้ว
3.มีการส่ง sms มาให้ทดลองใช้ก่อนแต่เมื่อหมดระยะเวลาแล้วก็สมัครให้อัตโนมัติ
เมื่อผู้เสียหายรับโทรศัพท์ ปลายสายบอกว่ามีบริการโหลดเพลงของค่ายเพลงแห่งหนึ่งโดยไม่เสียค่าบริการเป็นเวลา 7 วัน และจะส่งหมายเลขยกเลิกมาให้ แต่หมายเลขที่ส่งมานั้นไม่สามารถติดต่อได้ ผู้เสียหายไม่ได้ดำเนินการสมัครจึงคิดว่าคงจะปิดไปเอง แต่เมื่อสิ้นเดือนปรากฏว่ามีค่าใช้จ่ายผิดปกติ สอบถามเครือข่ายได้คำตอบว่าเป็นค่าใช้บริการ sms โดยจะยกเลิกให้แต่ไม่จ่ายเงินคืน 
ผู้เสียหายได้รับสิทธิทดลองใช้บริการ sms ข่าว ฟรี 1 เดือน แต่ sms ไม่ได้แจ้งว่าหากเลยเวลาจะสมัครให้อัตโนมัติ ทั้งๆที่ผู้เสียหายโทรไปยกเลิกบริการกับ Call Center ก่อนหมดเวลา 1 เดือนแล้วก็ตาม แต่ยังมี sms ข่าว ส่งมาอีก ผู้เสียหายจึงโทรไปสอบถามอีกครั้ง Call Center แจ้งว่าการยกเลิกครั้งแรกไม่สมบูรณ์ ผู้ใช้บริการต้องส่งข้อความไปยกเลิกอีกครั้งหนึ่งเมื่อครบ 1 เดือน 

แม้จะโดนsmsเรียกเก็บเงินแต่จำนวนผู้ที่มาร้องเรียนกับน้อยมาก

วิธีการยกเลิก

ทางสำนักงาน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติได้ร่วมมือกับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 5 ราย จัดทำช่องทางในการยกเลิกบริการ SMS ผ่านระบบ IVR หมายเลขเดียวกันทุกเครือข่าย คือ *137   แต่ก็ยังมีสิทธิได้รับsmsอยู่ดีไม่สามารถป้องกันได้ทั้งหมด
                                                             --------------------------------------
นอกจากนี้มูลนิธิเพื่อคุ้มครองผู้ใช้บริการยังแนะนำให้ผู้ใช้บริการเลือกรับข้อมูลข่าวสารอย่างมีสติ โดยคำนึงถึงสิทธิของผู้ใช้บริการ 5 ประการ ได้แก่
1.สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการโฆษณาหรือการแสดงฉลากตามความเป็นจริงและปราศจากพิษภัยแก่ผู้ใช้บริการรวมตลอดถึงสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการอย่างถูกต้องและเพียงพอที่จะไม่หลงผิดในการซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยไม่เป็นธรรม
2.สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการได้แก่ สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยความสมัครใจของผู้ใช้บริการและปราศจากการชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม
3.สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือบริการที่ปลอดภัยมีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐานเหมาะสมแก่การใช้ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกายหรือทรัพย์สิน ในกรณีใช้ตามคำแนะนำหรือระมัดระวังตามสภาพของสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว
4.สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ
5.สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองและชดใช้ค่าเสียหายเมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้ใช้บริการตามข้อ 1, 2, 3 และ 4 ดังกล่าว

ยังมีปัญหาอื่นๆอีกมากให้เราได้อ่านและให้ทางผู้ให้บริการได้แก้ไข ได้ที่นี้

อ้างอิง : http://ilaw.or.th/node/4094

วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

GooglePlayเริ่มแสดงแอปไหนมีโฆษณาแฝงแล้ว

เป็นเรื่องที่ดีที่ทาง GooglePlay จะระบุรายละเอียดต่างๆของแอปมากขึ้น

โดยในช่วงปลายปีที่แล้ว Google ได้แจ้งให้นักพัฒนาได้ทราบแล้วว่าหากไม่ระบุว่าแอปของตนนั้นมีโฆษณาอยู่ก็จะไม่สามารถอัพเดตแอปเวอร์ชั่นใหม่ได้

และในวันนี้เราก็เริ่มเห็นกันแล้วโดยจะแสดงข้อมูลในตำแหน่งเดียวกับที่บอกว่าแอพนั้นมี 'การซื้อในแอป'
อย่างไรก็ดีจากที่ลองดูๆในPlaystoreนั้น แอปที่ระบุว่ามีโฆษณาอยู่นั้นมีน้อยมาก ก็ไม่แน่ใจว่าจะทางผู้พัฒนาลืมระบุหรือป่าวก็ต้องดูกันต่อไป

ที่มา:https://www.blognone.com/node/80495

พ.ร.บ คอมใหม่รู้ไว้ประดับสมอง!

เนื่องจากเนื้อหามีเยอะมาก....สรุปย่อได้ดังนี้

  1. มีหลักการแจ้งเตือนผู้ให้บริการให้ทำตามแล้ว โดยมาตรา 15 ของพ.ร.บ. ระบุให้รัฐมนตรีออกประกาศขั้นตอนการทำตามคำแจ้งเตือน เมื่อทำตามแล้วไม่ต้องรับโทษ
  2. การบล็อคเว็บมีกรรมการพิจารณา จากเดิมการบล็อคเว็บต้องเป็นการบล็อคเว็บที่มีความผิดตามพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ เท่านั้น ร่างใหม่นี้กำหนดความผิดที่สามารถบล็อคเว็บได้กว้างขวางกว่าเดิม รวมถึงข้อมูลที่ไม่ผิดกฎหมายแต่คณะกรรมการกลั่นกรองมีมติให้บล็อค
  3. ขยายเวลาเก็บล็อก จากเดิมเจ้าหน้าที่สามารถขอให้เก็บรักษาไว้ไม่เกิน 1 ปี เป็น 2 ปี
นอกเหนือจากประเด็นสำหรับคนทำงานไอทีแล้ว ร่างใหม่นี้ยังมีประเด็นสิทธิเสรีภาพอีกหลายประเด็น รายละเอียดทาง iLaw ได้รายงานเปรียบเทียบอย่างละเอียดไว้แล้ว
ที่มา http://ilaw.or.th/

อ้างอิง : https://www.blognone.com/node/80473